4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ข่าว/ความเคลื่อนไหว

28.06.2024
1495 Views

สวรส.สานเครือข่ายวิจัยภาคใต้ พร้อมติดตามพัฒนาคุณภาพวิจัย telehealth ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันสูง

ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับหนึ่งของโลก จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลก มีแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรค NCDs เพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2555 จาก 38 ล้านคน เป็น 41 ล้านคน สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561 โรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึงร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยมีจำนวนมากถึง 320,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 37 คนต่อชั่วโมง ซึ่งโรคที่พบมากสุดคือ โรคหลอดเลือดสมอง รองลงมาคือ โรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตามลำดับ ซึ่งกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมภาวะโรคได้ และมีอาการคงที่ แต่ยังคงต้องรับยาและได้รับการดูแลต่อเนื่อง สามารถนำเทคโนโลยีสุขภาพทางไกล (telehealth) มาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการทางการแพทย์ โดยมีรูปแบบการให้บริการ เช่น การเฝ้าสังเกตการณ์ทางไกล, การให้คำปรึกษาทางไกล, การให้ความรู้ทางไกล, การจัดการการดูแลผู้ป่วยทางไกล เพื่อช่วยลดความแออัด และลดภาระงานของผู้ให้บริการในสถานพยาบาล ตลอดจนสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วย
28.06.2024
1572 Views

‘ระบบสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่า’ ทางรอดสู่ความยั่งยืนของระบบสุขภาพประเทศไทย

ความท้าทายของการพัฒนาระบบสุขภาพคือการสร้างระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด ซึ่งการใช้ทรัพยากรจำนวนมากใช่ว่าจะได้ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีเสมอไป ดังนั้นแนวคิดการดูแลสุขภาพโดยมุ่งเน้นคุณค่า (Value-Based Healthcare : VBHC) จึงเป็นอีกหนึ่งทางออกของการที่จะใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดคุณค่า และระบบสุขภาพมีความยั่งยืน ซึ่งระบบสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่า คือระบบบริการสุขภาพที่เอื้อให้เกิดคุณค่าสูงสุดในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยมีการดูแลทั้งวงจรของการรักษา และใช้เงินน้อยลงในกระบวนการรักษาทั้งหมด
28.06.2024
627 Views

สวรส. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและการจัดทำแผนที่งานวิจัยด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ ครั้งที่ 3

28 มิถุนายน 2567 : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและการจัดทำแผนที่งานวิจัยด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ ครั้งที่ 3 โดยมีทีมวิทยากร นำโดย รศ.ดร.นพ. บวรศม ลีระพันธ์ จากคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการ ณ ห้องประชุม Mars ชั้น 3 โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในการประชุมมีการนำเสนอข้อค้นพบเบื้องต้นจากการวิเคราะห์แผนงานวิจัยและความเชื่อมโยงกับ กรอบแนวคิดการพัฒนาความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สวรส. ร่วมระดมความคิดเห็นภายใต้โจทย์และเป้าหมายการยกร่างการจัดทำแผนที่การจัดการงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ ด้วยเครื่องมือของกระบวนการคิดเชิงระบบ การระดมสมองเพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการงานวิจัย ถอดบทเรียนเบื้องต้นและกำหนดแนวทางการดำเนินงานในระยะถัดไปเพื่อพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของสวรส. (Reflection), สิ่งที่ควรดำเนินการต่อไป (Stay), สิ่งที่ควรยุติหรือปรับเปลี่ยน (Stop) และ สิ่งใหม่ที่ควรริเริ่ม (Start) กระบวนการทำงานร่วมกันในระยะต่อไป เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือ อย่างเป็นระบบและมีเป้าหมาย การเพิ่ม การลด ตามข้อมูลร่วมกัน การใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประสิทธิภาพอย่างจริงจัง
17.06.2024
1326 Views

สวรส. ร่วมหนุนแนวทางประเทศ “การสร้างกำลังคนรองรับ กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ยกระดับประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดย ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รอง ผอ.สวรส. ร่วมงานแถลงวิสัยทัศน์ “เตรียมทัพกำลังคน สร้างอุตสาหกรรมอนาคต” IGNITE THAILAND : Future Workforce for Future Industry โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ และมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงแนวทางการสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยมีคณะรัฐมนตรี ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2567 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล
17.06.2024
1187 Views

สวรส. จัดเวทีพัฒนาศักยภาพกรรมการจริยธรรมด้านสังคม หนุนเสริมหลักการเข้มแข็ง-แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อคุ้มครองอาสาสมัครวิจัยปลอดภัย ผลวิจัยเชื่อถือได้ ถูกหลักจริยธรรม

การทำวิจัยในมนุษย์ถือเป็นข้อต่อสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาการป้องกัน รักษาโรค และเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในสังคม แต่การที่ต้องใช้มนุษย์เป็นเครื่องมือในการได้มาซึ่งข้อมูล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ทำให้อาสาสมัครวิจัยต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่ออันตรายจากการวิจัย ดังนั้นการปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยและกฎระเบียบการวิจัยในมนุษย์จึงเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น ตลอดจนส่งผลให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้