ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 87 คน
การขยายผลองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพสู่ศูนย์สาธิตการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการรับมือกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ระดับเขตสุขภาพ
นักวิจัย :
วิมล โรมา , ภารุจีร์ เจริญเผ่า , สายชล คล้อยเอี่ยม , กมลวรรณ สุขประเสริฐ , ฐานิตา คุณารักษ์ ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
18 มีนาคม 2568

โครงการวิจัย เรื่องการขยายผลองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพสู่ศูนย์สาธิตการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการรับมือกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับเขตสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลกระบวนการขยายผลที่เหมาะสมในการขยายผลองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพสู่ศูนย์สาธิตการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการจัดการกับปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของ Consolidated framework for Implementation Research (CFIR) เพื่อใช้ค้นหาและกำหนดปัจจัยเอื้อและอุปสรรคต่อการขยายผล และใช้กระบวนการขยายผลของ Institute of Healthcare Improvement (IHI framework) ซึ่งแบ่งช่วงการดำเนินงานออกเป็นช่วง ๆ 5 ช่วง และให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมพื้นที่นำร่องก่อนที่จะนำต้นแบบลงไปทดลองขยายผลเต็มพื้นที่ คณะผู้วิจัยเลือกค้นหาต้นแบบการดำเนินงานองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดีจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นหาต้นแบบองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพแห่งปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (HLO of the YEAR 2023) ที่จัดโดยศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย ณ จังหวัดขอนแก่น โดยได้ต้นแบบจำนวน 5 แห่ง ที่ได้คะแนนสูงสุดของแต่ละภาค 5 ภาค ระยะเวลาในการทดลองขยายผลอยู่ระหว่าง 3 – 6 เดือน ผลการทดลองขยายผลพบว่า ฐานแนวคิดของ CFIR ที่สะท้อนปัจจัยแห่งความสำเร็จ 5 ด้านและกระบวนการตามกรอบแนวคิดของ IHI Framework มีความเหมาะสมสำหรับเป็นแนวทางในการขยายผลต้นแบบองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพไปสู่พื้นที่ใหม่อย่างเป็นระบบและสนับสนุนกระบวนการซึ่งกันและกัน ที่ช่วยให้คณะผู้วิจัยสามารถกำหนดองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองของต้นแบบเพื่อใช้เตรียมความพร้อมพื้นที่นำร่อง และปัจจัยเอื้อที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ซึ่งเป็นชุดความรู้อย่างน้อยที่สุด โดยทุกพื้นที่สามารถนำต้นแบบไปทดลองขยายผลได้ค่อนข้างครบทุกองค์ประกอบหลัก และมีระดับการเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นหรือใกล้เคียงกับหน่วยบริการต้นแบบ อีกทั้งผลลัพธ์ต่อสุขภาพของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้ ยังค้นพบด้วยว่า การขยายผลองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพสู่ศูนย์สาธิตการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยเอื้อที่เหมาะสมอย่างน้อย 4 ปัจจัย ได้แก่ ทีมอำนวยการจากพื้นที่ ศูนย์สาธิตการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้นำสุขภาพ และสื่อประกอบการเรียนรู้เนื้อหาสาระหลัก ซึ่งสอดคล้องกับข้อแนะนำในการจัดเตรียมระบบสนับสนุนตามกรอบแนวคิด CFIR และ IHI framework ข้อค้นพบของการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การขยายผลต้นแบบที่ดีควรใช้กระบวนการดำเนินงานที่มีทฤษฎีรองรับและเป็นระบบอย่างสอดรับกัน อย่างเช่น กรอบแนวคิด CFIR และ IHI framework และปัจจัยเกื้อหนุนที่จำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นก่อนการทดลองขยายผล ประกอบด้วยอย่างน้อย 4 ปัจจัย ได้แก่ ทีมอำนวยการจากพื้นที่ศูนย์สาธิตการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้นำสุขภาพ และสื่อประกอบการเรียนรู้เนื้อหาสาระหลัก


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6245

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้