ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 93 คน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพชีวิตของเด็กหูหนวกที่ได้รับการฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทย
นักวิจัย :
ภาธร ภิรมย์ไชย , ขวัญชนก ยิ้มแต้ , พนิดา ธนาวิรัตนานิจ , แสงระวี คีรินทร์ , ศิรวัฒน์ ศรีจันทร์ ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
17 มีนาคม 2568

ประสาทหูเทียม เป็นอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาหูหนวกที่มีราคาแพง และมีข้อมูลประสิทธิผลในประเทศไทยน้อย ในปี พ.ศ. 2560 ทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ให้ทุนวิจัยเพื่อจัดตั้งโครงการประสาทหูเทียมในประเทศไทย เพื่อติดตามผลการได้ยินของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ในปัจจุบันมีผู้ป่วยในโครงการประมาณ 500 ราย และการได้ยินของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่สามารถสื่อสารได้ ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2565 สวรส. ได้เสนอประสิทธิผลของประสาทหูเทียมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำให้เกิดประกาศเพิ่มสิทธิประโยชน์การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในเด็กหูหนวกที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี โครงการประสาทหูเทียมในประเทศไทย มีการวัดผลลัพธ์การผ่าตัดด้านการได้ยินและคุณภาพชีวิตโดยทั่วไป แต่ยังไม่มีการติดตามถึงการเรียนของเด็กที่ได้รับการผ่าตัดและคุณภาพชีวิตแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดประสาทหูเทียม โครงการ “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพชีวิตของเด็กหูหนวกที่ได้รับการฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทย” เป็นโครงการระยะสั้น 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ทราบข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องผลการเรียนของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม 2. พัฒนาเครื่องมือในการติดตามคุณภาพชีวิต สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมโดยเฉพาะ แทนที่จะใช้เครื่องมือติดตามคุณภาพชีวิตทั่วไป 3. หาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม โครงการนี้มีสถาบันที่เข้าร่วมวิจัยจำนวน 4 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล มีจำนวนอาสาสมัครรวมทั้งหมด 148 ราย แบ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครเพื่อศึกษาผลการเรียนจำนวน 77 ราย และกลุ่มอาสาสมัครเพื่อพัฒนาเครื่องมือในการติดตามคุณภาพชีวิตจำนวน 71 ราย ในกลุ่มอาสาสมัครที่ศึกษาผลการเรียน มีอายุเฉลี่ย 12 ปี พบว่าส่วนใหญ่มีผลการเรียนในปัจจุบันอยู่ในระดับดี (> 3.0) และดีมาก (>3.5) และผลการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 ค่าเฉลี่ยคะแนน GPA สูงสุดเท่ากับ 4.0 ในขณะที่คะแนนต่ำสุดเท่ากับ 0.7 จากแบบสอบถามคุณภาพชีวิตแบบทั่วไป สอบถามจากผู้ปกครองจำนวน 60 คน พบว่าคุณภาพชีวิตแบบทั่วไปส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนนน้อยคือดี) โดยพบว่าคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสังคมมีคะแนนที่ดีที่สุด และจากแบบสอบถามผู้ป่วยเด็กจำนวน 30 แบบสอบถาม พบว่าคุณภาพชีวิตแบบทั่วไปส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนนน้อยคือดี) โดยพบว่าคะแนนคุณภาพชีวิตด้านกายภาพมีคะแนนที่ดีที่สุด เมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียน ผู้วิจัยพบว่าการสื่อสารในครอบครัวด้วยภาษาพูดเป็นปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่สนับสนุนให้ผลการเรียนดีขึ้น ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ผู้วิจัยไม่พบว่ามีปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการพัฒนาเครื่องมือในการติดตามคุณภาพชีวิตแบบเฉพาะเจาะจง คณะผู้วิจัยได้เลือกแบบสอบถามชนิดจำเพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจำนวน 3 แบบสอบถามมาทำการแปลเป็นภาษาไทย คือ Cochlear Implant Quality of Life questionnaire (CIQOL), Nijmegen cochlear implant questionnaire (NCIQ) และ Children with Cochlear Implants: Parent´s Perspectives questionnaire (CCIPP) โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 71 ราย ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 3 แบบสอบถามมีค่าความสอดคล้องภายในมากกว่า 0.8 และมีค่าสัมประสิทธิ์ของความคงที่มากกว่า 0.7 โครงการวิจัยนี้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าผู้ป่วยเด็กที่หูหนวกและผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในปัจจุบันมีผลการเรียนและคุณภาพชีวิตทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ดี การสื่อสารด้วยภาษาพูดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลการเรียน และได้เครื่องมือที่จะนำไปใช้ในการติดตามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมต่อไปในอนาคต


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6244

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้